‘หมออีม’ หรือ นพ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ทันตแพทย์สาว ชาวจ.ประจวบคีรีขันธ์ นักปีนเขาผู้เคยเป็นหญิงไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ล่าสุด ได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้พิชิต 7 ยอดเขาจาก 7 ทวีป (Seven Summits) แล้ว
โดยหมออีมได้นำข่าวดีที่น่าประทับใจนี้มาแจ้งในหน้าเฟสบุ๊ก
ระบุว่า หลังจากที่ตนพลาดการขึ้นยอดเขา Denali ที่สูงที่สุดในอเมริกาเหนือ เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ที่ให้ PTT Seven Summit ต้องหยุดชะงักลง โดยยอดเขา Denali นี้เป็นด่านที่ค่อนข้างยากตามสถิติมีผู้พิชิตยอดเขานี้ได้ไม่ถึง 40% เท่านั้น ทำให้ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ และนานกว่าทุกรอบ นับตั้งแต่การพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์
และเมื่อต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาหมออีมก็ได้ออกเดินทางไปเงียบๆ ไม่มีรายงานความเคลื่อนไหวใดๆ ทางโซเชียลมีเดีย โดยออกปีนเขาไปเรื่อยๆ และตั้งแคมป์อยู่ที่ High Camp ที่ความสูง 5,250 เมตร ด้วยสมาชิกเพียง 4 คน และในวันที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา หมออีมและทีมก็เดินทางออกจาก High Camp ท่ามกลางอากาศที่ไม่เป็นใจนักเพราะมีหมอกปกคลุมหนา ระหว่างทางมีนักปีนเขา 2 ขอตัวกลับไปที่แคมป์ จึงเหลือหมออีมและไกด์ปีนเขา จนในที่สุดหมออีมก็พิชิตยอดเขา Denali สำเร็จและนำธงไทยไปถึงจุดสูงสุดของทวีปอเมริกาเหนือนี้
โดยก่อนหน้าที่จะมาพิชิตยอดเขา Denali นี้ หมออีมได้พิชิตยอดเขาอื่นๆ ในโครงการ PTT Seven Summit มาแล้ว ได้แก่ Everest (2016), Kilimanjaro (2017), Elbrus (2017), Aconcagua (2017), Puncak Jaya (2018) และ ยอดเขาที่ 6 คือ Vinson Massif แห่งทวีปแอนตาร์กติกา ที่สำเร็จในเดือนธ.ค.ปีที่แล้วก่อนจะมาพิชิต Denali ในปีนี้
ในเฟสบุ๊กเพจระบุว่า นับจากเอดมันด์ ฮิลลารี พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ มีผู้เดินตามรอยพิชิตภูเขาสูงที่สุดในโลกแห่งนี้ได้มากกว่า 6,800 คน หากแต่มีไม่ถึง 500 คนที่เป็นเจ้าของสถิติ Seven Summits และนับจากนี้ หนึ่งในนั้นเป็นคนไทยเพียงหนึ่งเดียว ผู้หญิงตัวเล็กผอมบาง ทานมังสวิรัติ
อีกหนึ่งโซเชี่ยลมีเดียแพลตฟอร์มที่เริ่มใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย นอกเหนือจาก Facebook และ Instagram คือ Twitter ที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 และถูกใช้อย่างแพร่หลายเรื่อยมาในต่างประเทศจนปี 2012 มียอดผู้ใช้มากกว่า 100 ยูเซอร์ และมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน. 2018 มีผู้ใช้มากกว่า 321 ยูเซอร์ต่อเดือน และบ้านเราก็เริ่มมีการใช้กันมากขึ้น แต่วันนี้จะพาไปดู 10 อันดับ แอคเค้าท์ Twitter ที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุกในโลก
“เณรคำ” คุกอ่วม 114 ปี ฉ้อโกงเงินศรัทธาซื้อเครื่องบินเจ็ต-รถหรู: ข่าวไทย
หลวงปู่เณรคำ – จากกรณี หลวงปู่เณรคำ หรือ นายวิรพล สุขผล อายุ 39 ปี (พระวิรพล ฉัตติโก) ถูกจับที่สหรัฐอเมริกาและส่งผู้ร้ามข้ามแดนนำตัวมาพิพากษาในไทย วันนี้ (4 ก.ค.) ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เณรคำในข้อหา ฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1) (2), 60
สรุปจากคดีได้ความว่า หลวงปู่เณรคำ สมัยเป็นประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรม จ.ศรีสะเกษ ได้ลองลวงประชาชนว่าฝันเห็นพระอินทร์ ขอให้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างมหาวิหารครอบองค์พระ ใช้วัสดุเป็นหยกแท้จากอิตาลี และสร้างเครื่องทรง วิหารอื่น ๆ อีก รวมถึงอ้างว่าจะซื้อเรือจากสหรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม และใช้พื้นที่เว็บไซต์ www.luangpunenkham.com เผยแพร่ข้อมูลเท็จ จนประชาชนหลงศรัทธา บริจาคเงินรวมได้กว่า 28,649,553 บาท
แต่ปรากฏว่าไม่มีการก่อสร้างใด ๆ เกิดขึ้น เณรคำนำเงินที่ได้จากพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา นำเงินไปซื้อรถหรู เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว มูลค่ารวมมากกว่า 10 ล้านบาท ต่อมาศาลแพ่งได้พิพากษายึดทรัพย์สินเณรคำ จำนวน 43,478,992 บาท
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการอ้างเท็จเพื่อให้ได้ทรัพย์สินจากบุคคลและผู้เสียหาย นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เนื่องจากเงินในการทำบุญไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัว จึงเข้าข่ายแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 รวม 29 กระทง รวม 87 ปี, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) 3 ปี และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 (1) (2), 60 รวม 12 กระทง 24 ปี รวมจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 114 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำคุกได้สูงสุด 20 ปี พร้อมชดใช้เงินให้ผู้เสียหายตามความเป็นจริง 29 ราย (เท่าที่ปรากฏการร้องเรียน)
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ในสหรัฐอเมริกา ที่สนับสนุนโดยฝ่ายที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาชี้ว่า แมลงสาบนั้นได้พัฒนาการให้มีแรงต้านทานยาฆ่าแมลงขึ้นมากจน เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการด้วยยาฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียวแล้ว
โดยงานวิจัยนี้ใช้เวลาวิจัย 6 เดือน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะฆ่าแมลงสาบสายพันธุ์ของเยอรมัน แบลทเทล่า เจอมานีก้า ซึ่งพบได้มากที่สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ ยุโรป โดยทดลองใช้ยาฆ่าแมลง 3 ชนิด และผสมยาฆ่าแมลง 2 ชนิดสลับกันทุกเดือน นาน 6 เดือน ซึ่งฉีดในบริเวณที่แมลงสาบเดินผ่าน